บทความน่ารู้

5 เทคนิคผ่อนคลายสมอง ช่วยให้สมองไม่ล้า ลมหนาวมาแล้วนะ ส่องแฟชั่นเข้าสู่ฤดูหนาว ไอเทมcamping ที่สายเดินป่าต้องมีไว้ตั้งแคมป์ คิดถึงอาหารจีนที่เยาวราช แนะนำของใช้ในครัวราคาน่ารัก ไม่ต้องไปถึงเมืองจีนก็สามารถพรีออเดอร์สินค้าจากจีนได้ 5 Application ดังจากจีนที่คนไทยชอบโหลดมาใช้ แนะนำสินค้าสุดฮิตให้กับแม่ค้าออนไลน์ ขายดี ไลฟ์สดจนไฟลุก สั่งสินค้าจากจีนทำไมยากขนาดนี้ “จีน” เป็นกำลังจะเป็นมหาอำนาจทางด้านเศรษฐกิจโลก วันตรุษจีน เปิดฟ้าส่องโลก : พ.ศ.2563 สถานการณ์คุณภาพอากาศ พื้นที่ทั่วประเทศ เปิดฟ้าส่องโลก : จีน-สหรัฐฯ วันนี้ เศรษฐกิจจีน Q2 โตต่ำสุดในรอบ 3 ทศวรรษ สหรัฐฯ ขึ้นภาษีสินค้าจีนระลอกใหม่ เล็งเสื้อผ้า-รองเท้า หวั่นทำราคาพุ่ง!! จับตาสินค้าจีนทะลักเข้าไทยพิษทรัมป์ กินเผ็ดจัดไม่ใช่แค่แสบปาก แต่ยังอันตรายต่อสุขภาพด้วย ! สงครามการค้าจีน - สหรัฐฯ SME ไทยได้หรือเสีย ? WeChat Pay คืออะไร ?
10 วิธีลืมเรื่องที่ไม่อยากจำ สลัดอดีตที่เจ็บช้ำให้หลุดไป

 

       ทำยังไงให้ลืมเรื่องที่ไม่อยากจำได้สักที ใครมีอดีตที่ไม่อยากให้อยู่ในความทรงจำอีกต่อไปเรามีวิธีลืมเรื่องที่ไม่อยากจำมาช่วยให้คุณลืมอดีตได้ง่ายขึ้นอดีตที่ไม่ดีไม่มีใครอยากเก็บไว้เป็นความทรงจำหรอกค่ะ แต่ทว่ายิ่งเราพยายามลืมมากเท่าไร เหมือนจะยิ่งตอกย้ำให้สมองจำเรื่องราวเก่า ๆ เหล่านั้นมากขึ้นท้ายที่สุดเราก็ไม่สามารถสลัดอดีตที่อยากจะลืมให้หลุดพ้นไปได้สักที แต่นับจากวินาทีนี้เป็นต้นไปเชื่อว่าทุกคนจะลืมเรื่องเก่า ๆ ที่ไม่อยากจำได้ง่ายขึ้น ถ้าทำตามวิธีลืมอดีต ที่เรากำลังจะนำเสนอต่อไปนี้

วิธีลืมเรื่องที่ไม่อยากจำ

 

1. อย่าพยายามลืมคุณอ่านไม่ผิดหรอกค่ะที่เราบอกว่าอย่าพยายามลืมเรื่องที่อยากจะลืมให้หมด ๆ ไป เพราะมีการศึกษาทางจิตวิทยาที่แสดงให้เห็นว่า เมื่อเราบอกให้ตัวเองลืมบางเรื่อง บางอย่าง เราจะยิ่งจำสิ่งที่ควรจะลืมนั้นอย่างลึกล้ำมากยิ่งขึ้น เพราะการพยายามจะลืมก็เท่ากับว่าเราเรียกคืนความทรงจำนั้นกลับมา และบอกใจตัวเองว่าให้ลืม ๆไปซะอยู่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า มันก็เท่ากับเราตอกย้ำเรื่องในอดีตไปทีละหน่อย ๆ แล้วเราจะลืมเรื่องนั้นไปได้ยังไง ฉะนั้นก็ไม่จำเป็นต้องห้ามตัวเองไม่ให้คิดถึงค่ะ เมื่อคิดก็ปล่อยให้ความคิดลอยไป แล้วก็ตระหนักว่าเราหวนกลับมาคิดเรื่องนี้อีกแล้ว มองให้ความคิดนั้นเป็นเรื่องธรรมดา แล้วในที่สุดเราจะรู้สึกชินชาจนลืมได้เอง

2. อย่าปล่อยให้ตัวเองว่างพยายามหากิจกรรมทำให้ตัวเองยุ่ง ๆ เข้าไว้ อย่างใครที่ชอบอ่านหนังสือก็ใช้หนังสือช่วยเยียวยาจิตใจค่ะ แต่ถ้าใครชอบกิจกรรมบันเทิงหน่อยก็ไปดูหนัง ฟังเพลง หรือสายสปอร์ตก็ลงคอร์สเล่นกีฬารัว ๆ ไปเลย เมื่อเรามีกิจกรรมให้ทำวันละหลายอย่าง ก็คงไม่มีเวลาว่างมาคิดเรื่องอดีตแน่นอน

3. ทำตัวติดเพื่อนสำหรับคนที่มีเพื่อนเยอะก็ลองนัดเจอเพื่อนบ่อย ๆ อยู่กับเพื่อนให้มากเข้าไว้ เพราะการมีคนที่เข้าอกเข้าใจเป็นแนวเดียวกัน จะทำให้เราอยู่ด้วยแล้วสบายใจ เรื่องที่ร้าย ๆ ก็จะไม่ผ่านเข้ามาในความคิด

4. ทำงานจิตอาสางานจิตอาสามีให้เลือกทำอยู่มากมายเลยค่ะ ดังนั้นใครที่พอมีเวลา อยากหาประสบการณ์ใหม่ ๆ อยากเจอเพื่อนใหม่ งานจิตอาสาก็เป็นทางเลือกที่ดี ที่สำคัญการทำงานจิตอาสาจะเปิดโอกาสให้เรานึกถึงคนอื่นมากกว่าตัวเองมากขึ้นด้วย และนั่นก็จะทำให้เรื่องที่เราทุกข์ เราลืมไม่ลง กลายเป็นจุดเล็ก ๆ ที่เริ่มไม่สำคัญในชีวิตอีกต่อไปภาพจาก Geet Theerawat/shutterstock  

5. แบ่งปันความรู้สึกกับใครสักคนแม้จะเป็นเรื่องที่เลวร้าย และเราอยากจะลืมใจจะขาด แต่การเก็บเอาไว้กับตัวเองคนเดียวจะยิ่งทำให้ความทรงจำนั้นฝังอยู่กับเราไปกันใหญ่ ฉะนั้นหากมีใครสักคนที่พอจะไว้ใจได้ ลองระบายความทรงจำแย่ ๆให้เขาฟังก็ได้ค่ะ หรือหากไม่ไว้ใจใคร จะลองโทรคุยกับสายด่วนสุขภาพจิต โทร. 1323 ก็ได้นะคะ เล่าให้คนปลายสายฟัง ให้ความทรงจำร้าย ๆ ได้ระบายออกมาจากความฝังใจของเราบ้าง แล้วจะรู้สึกตัวเบาขึ้น

6. ฝึกสมาธิหากรู้สึกได้ว่าตัวเองมีความคิดวนเวียนและฟุ้งซ่านมาก ลองหามุมสงบที่ไปทีไรก็รู้สึกสบายใจ เช่นวัด ทะเล สวนสวนสาธารณะที่มีลานกว้าง ๆ หรือแม้กระทั่งสนามเด็กเล่นก็ได้ สถานที่เหล่านี้จะช่วยให้เรามีใจสงบอยู่กับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าได้มากขึ้นโดยอัตโนมัติ หรือหากใครมีโอกาสจะลองไปนั่งวิปัสนากรรมฐานหรือฝึกสมาธิดูสักตั้งก็ได้ เผื่อใจจะสงบขึ้นได้บ้าง 

7. คิดถึงคนอื่นบ้างเชื่อไหมคะว่าการที่เรายังไม่ลืมเรื่องเก่า ๆ เรื่องร้าย ๆ ในชีวิต นั่นอาจเป็นเพราะเราวนเวียนคิดถึงแต่ตัวเองดังนั้นลองปรับมุมมองไปคิดถึงคนอื่นบ้าง มองชีวิตคนอื่นด้วยความเข้าใจบ้าง แบ่งเวลาไปช่วยเหลือ หรือรับฟังปัญหาของคนอื่นบ้าง บางทีเราอาจจะตระหนักได้ว่า ไม่ใช่แค่เราคนเดียวที่กำลังจมกับความทุกข์เพราะลืมเรื่องในอดีตไม่ได้แต่ยังมีอีกหลายคนที่มีปัญหาชีวิตในแง่มุมที่แตกต่างกันไป เป็นการเปิดโอกาสให้ใจได้รู้จักปลงมากขึ้นด้วย

8. เข้ารับการรักษาทางจิตวิทยาสำหรับคนที่รู้สึกว่าตัวเองอาการหนัก มีภาวะเครียดหรือโรคซึมเศร้าร่วมด้วย อยากให้เข้าพบจิตแพทย์เพื่อทำการบำบัดด้วยวิธีทางจิตวิทยาค่ะ โดยจิตแพทย์อาจจะเลือกใช้วิธีบำบัดด้วยจิต การสะกดจิตให้ลืมเรื่องร้ายหรืออาจใช้วิธีเผชิญหน้ากับความทรงจำนั้นอีกครั้งอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อฝึกให้จิตใจทนทานกับเรื่องรายนั้นได้มากขึ้น กระทั่งมองเป็นเรื่องธรรมดา หรือลืมได้ในที่สุด

9. รักษาด้วยยาในเคสที่มีอาการค่อนข้างรุนแรง มีภาวะเครียดและซึมเศร้า อีกวิธีที่จะช่วยให้ลืมเรื่องเก่าที่คอยทำร้ายจิตใจก็คือการใช้ยาทางจิตเวชช่วยค่ะ โดยจิตแพทย์อาจให้ยาในกลุ่มยาแก้ซึมเศร้า เช่น fluoxetine, escitalopram, sertraline ร่วมด้วย โดยยากลุ่มนี้ต้องใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์จึงจะเริ่มออกฤทธิ์ ทว่าหากต้องการจะลืมด้วยวิธีนี้ ก่อนอื่นต้องเข้าพบจิตแพทย์ก่อนนะคะ

10. ให้เวลาช่วยเยียวยา“เวลาจะช่วยเยียวยาทุกอย่างเอง” อ่านแล้วก็รู้สึกว่าเป็นคำพูดที่สวยหรู แต่ให้ทำจริง ๆ ก็อยากเหลือจะกล่าว ทว่าต้องยอมรับค่ะว่าเวลาช่วยได้จริง ๆ เพียงแค่เราเองก็ต้องใช้ชีวิตให้ดีที่สุดควบคู่ไปกับทุกช่วงเวลาด้วย ดูแลตัวเองให้ดีทั้งร่างกายและจิตใจ เชื่อว่าถ้าทำได้สักวันเราก็ต้องลืมสิ่งที่ไม่ได้อยากจะจำจนได้แหละ

          หากใครมีเรื่องที่อยากลืมให้หมดใจ เราขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนก้าวผ่านความทรงจำร้าย ๆ ได้ในเร็ววันนะคะ แล้วก็อย่าลืมนำ 10 วิธีลืมเรื่องที่ไม่อยากจำไปปรับใช้กันด้วย :)

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก


กรมสุขภาพจิตคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล, medicalnewstoday

Kapook.com

 

3,125      09-11-2017